ชมพูนุท

ผู้เขียน : ชมพูนุท

อัพเดท: 01 พ.ย. 2008 08.49 น. บทความนี้มีผู้ชม: 17436 ครั้ง

การสอบวัดระดับภาษาญี่ปุ่น JPET ปี 2008ใกล้เข้ามาแล้ว วันที่7 ธันวา
หลายคนเริ่มเตรียมตัวแล้ว แต่บางคนยังแต่จะเริ่มตอนนี้ก็ไม่น่าจะช้าเกินไป
สำหรับคุณข้อสอบส่วนใดยากที่สุด
ตัวผู้เขียนขอยกให้ "การอ่านและไวยากรณ์" เพราะข้อสอบชุดนี้อยู่ท้ายสุด หลังจากที่เราเหน็ดเหนื่อยจากการฟัง แล้วก็ตัวอักษรและคำศัพท์มาแล้ว.....แถมยังยาวเอามากๆด้วย
แค่เห็นก็ท้อแล้ว บางคนเลิกทำเอาดื้อๆ บางคนอยากทำต่อแต่เวลาไม่พอ เลยบาย...แต่รู้มั้ย
ว่าข้อสอบส่วนนี้เนี่ยคะแนนแต่ละข้อเยอะมาก ราวๆข้อละ 5 คะแนนเลยทีเดียว

การอ่านเป็นปรับเอาความรู้เรื่องของศัพท์และไวยากรณ์มาใช้

เราจะทำอย่างไรที่จะพิชิตข้อสอบส่วนนี้ได้ อย่างน้อยได้ตามเกณฑ์ของแต่ละระดับก็ยังดี(เนอะว่ามั้ย)


จะขอเน้นที่ระดับ2นะ แต่คิดว่าจะนำไปใช้ได้ทุกระดับการสอบ....สู้ๆ อย่าเพิ่งท้อแท้นะ
(ลองเอาไปใช้ดูนะ เผื่ออาจเป็นประโยชน์)


ข้อสอบการอ่าน2

มาต่อกันตอนที่2นะ ก่อนที่จะไปดูรูปแบบของคำถามต่อไป ขอแทรกด้วยเรื่องโครงสร้างประโยคก่อนนะ ใครที่เคยสอบวัดระดับ2 แล้วจะรู้ว่า ประโยคจะยาว,ยากและซับซ้อนกว่าระดับ3 เยอะ แต่เราไม่ต้องงงไป ก่อนอื่นเราจะต้องมาทำความเข้าใจถึงโครงสร้างประโยคของภาษาญี่ปุ่นก่อนนะ
(อย่างงี้จะเรียกว่าเอามะพร้าวห้าวมาขายสวนหรือเปล่าเนี่ยเรา...เอาเป็นว่าอดทนตามชั้นไปอีกสักพักก็แล้วกันนะ)

ประโยคภาษาญี่ปุ่นจะไม่เหมือนของไทย ตรงที่
ไทยเราเรียงแบบ ประธาน, กริยา, กรรม

แต่ภาษาญี่ปุ่น จะเป็น ประธาน กรรม กริยา
อย่างที่เคยๆได้ยินกันนั่นแหละว่า กริยาจะอยู่ท้ายสุดของประโยคเลย
และที่ต่างกันอีกอย่างก็คือ ภาษาญี่ปุ่นจะมีการเปลี่ยนแปลงรูปกริยาให้เข้ากับรูปแบบของไวยากรณ์ ภาษาไทยเราไม่มี เราจะเป็นแบบที่เติมคำหนึ่งคำเข้าไปแล้วก็จะได้เป็นอีกหนึ่งไวยากรณ์
พูดอย่างเดียวทำให้งงมาดูกันก่อนนะ

現代科学の発達は、私たちの生活に大きな変化与えている
     ①             ②   ③
รู้หรือยังว่า ประโยคนี้ คำกริยาคืออะไร
ใช้แล้ว ① คือ หัวเรื่องหรือประธาน(คำนาม) ② คือ กรรม  ③ กรรม
ประโยคนี้กริยาผันเป็นรูปている ซึ่งมีความหมายหลายอย่างไม่ว่าจะเป็นกิจวัตรประจำวัน,กำลังดำเนินอยู่ หรือ แสดงสภาพ

ส่วนคำอื่นๆเป็นขยาย หรือกรรมรองฯลฯ
คำที่คอยบอกเราว่าหน้าที่ของคำคืออะไร และคำไหนคือ คำช่วย(ที่ไม่มีในภาษาไทยอีกแล้ว....ยากจริงๆๆ)

昔のような社会勉強はできなくなってしまった。
ส่วนประโยคนี้ กริยาคือ ใช่แล้ว できる แต่ผันเป็นรูป ない+なる+しまう+た。
ความหมายคือ กลายเป็นไม่....ไปแล้ว

ตอนนี้เราเข้าใจโครงสร้างประโยคแล้ว เราก็มาดูที่รูปแบบของคำถามกันต่อนะ

 演劇でも書物でも、文化や芸術には知らない世界に自分の身を置き換え、身近なものにするという力がある。それは「人になって考えてみる」という想像力がつちかわれることでもあると思う。
 この想像力により、さまざまな差異を超え、世界の人々が同じ「人間」として、幸せに生きてほしいという願いが自然にわいてくる。実はこういう文化の力こが平和につながる大きな力なのかもしれない。

(東美恵子「壁越える想像力」2002年11月3日付読売新聞による)2004年:2級


「問い」「こういう文化の力」というのは、どのような力か。
1.世界の人々が平和に生きてほしいと願う力。
2.いろいろな文化の違いを比較し、理解する力。
3.外国の文化や芸術を見て、わからないところを考える力。
4.演劇や書き物を通して、自分とは異なる世界を想像する力。

สังเกตมั้ยว่า มีคำหนึ่งที่โผล่ออกมาบ่อยมาก คำนั้นคืออะไรเอ่ย ใช่แล้ว คำนั้นคือ 力 นั่นเอง

เราก็ไล่หาคำว่า 力ไปเรื่อยๆ ว่าแปลว่าอะไร ถ้าสังเกตอีกตัวจะเห็น คำว่า こういう หมายความว่าคำที่อยู่ใกล้ๆนั่นเอง แต่ที่ชัดกว่าเดิมคือ คำว่า 文化の力มันจะต้องเป็นอะไรที่เกี่ยวกับ 文化 แต่ถ้าจะสังเกตให้ชัดอีก ก็ดูตรงที่ ที่มาของบทความนี้แหละ เราจะเห็น ว่า ชื่อเรื่องคือ 壁越える想像力 ก็แสดงว่าเรื่องนี้มันเกี่ยวกับกับ想像する力ใช่ป่าว  คราวนี้ก็รู้แล้วสิว่า คำตอบของข้อนี้ก็คือ ข้อ 4  เย้! ยินดีด้วยนะ

เดี๋ยวต่อไปเราจะมาดูคำถามแบบต่อไปนะ


บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที