ธีระพงษ์

ผู้เขียน : ธีระพงษ์

อัพเดท: 10 พ.ย. 2008 21.19 น. บทความนี้มีผู้ชม: 252417 ครั้ง

บทความในส่วน ของ Cross Function Team นี้ ต้องขอออกตัวก่อนนะครับว่าผมเองนั้น มิได้เป็นผู้เชี่ยวชาญโดยตรง

แต่บทความที่เขียนนี้ เขียนขึ้นจากประสบการณ์ ที่ได้ลงมือปฏิบัติในหน่วยงานคุณภาพขององค์กร ซึ่งองค์กรที่ผมทำงานอยู่ได้ พยายามสร้างระบบคุณภาพ

ที่มุ่งสร้างพฤติกรรม การทำงานเป็นทีมให้เกิดขึ้นกับบุคลากรในองค์กร โชคดีที่ผู้บริหารระดับสูง ให้ความสำคัญ และพยายามพัฒนาอย่างต่อเนื่องมาจนเป็น 4 ปี

บทความนี้จะเป็นการบันทึกประสบการณ์จากจุดเริ่มต้นจนสู่ความสำเร็จ ซึ่งหวังว่าจะผู้อ่านจะสามารถนำไปแนวทาง เพื่อพัฒนาสู่การปฏิบัติ ในองค์กรของตนได้

13/10/2008 เรื่องเด่นวันนี้

ขอบคุณผู้อ่านที่แวะเข้ามาเยี่ยมบทความเล็กๆ เรื่องนี้ อย่างไรก็ดีหากไม่เป็นการรบกวนจนเกินไปช่วยติชมด้วยทั้งจากผู้อ่าน และผู้รู้เพื่อการพัฒนาต่อยอดครับ หรือผู้อ่านต้องการให้เสริมในมุมไหนผมจะยินดีเป็นอย่างยิ่ง และขอขอบคุณล่วงหน้าครับ


ระบบวงจร คุณภาพ PDCA จากหลักการสู่วิธีการปฏิบัติ และสร้างทีมคุณภาพ ตอนจบ

จากหลักการ สู่ วิธีปฏิบัติ

การปรับ หลักการ PDCA สู่ วิธีปฏิบัติ ถึงเป็นสิ่งสำคัญสูงสุดในการ สร้างทีมคุณภาพ ซึ่ง วิธีการปฏิบัติ ได้ถูกนำมาใช้ดังภาพ โดยมีขั้นตอนทั้งสิ้น 8 ขั้นตอน โดยถูกแยกออก เป็น 4 ส่วนตามหลักวงจรคุณภาพ PDCA ซึ่งอธิบายเป็นขั้นเป็นตอนได้ดังนี้


Core Fucntional Team Building Model
Plan

1.        ตั้งเป้า สมาชิกในทีม (ฝ่ายต่างๆ ต้องกำหนดเป้าหมายร่วมกัน) เพื่อ สมาชิกในทีมองเห็นเป้าหมายร่วมกัน เช่น ทีมวางแผนยุทธศาสตร์ ต้องเป้าไว้ว่าจะต้องทำยอดขาย ไว้ 100 ล้านใน Q1 ฝ่ายที่เกี่ยวข้องกับทีมวางแผนกลยุทธ์ ซึ่งอาจประกอบด้วย ฝ่ายขาย, ฝ่ายพัฒนาสินค้า, ฝ่ายบัญชีการเงิน, ฝ่ายการตลาด จะต้องเห็นเป้าหมายเดียวกัน ซึ่ง เป้าที่ได้นั้นได้มาจากการวิเคราะห์ และคาดการณ์โดยบัญชีการเงิน

2.        รวบรวมข้อมูล มาสมาชิกในทีมกำหนดเป้าหมายร่วมกันแล้ว ฝ่ายต่างๆ ที่เป็นสมาชิกทีมต้องรวบรวมข้อมูล เพื่อนำมาวิเคราะห์ เช่น ฝ่ายขายรวบรวมข้อมูลในมุมลูกค้า, ฝ่ายพัฒนาสินค้ารวบรวมข้อมูลในมุมสินค้า, ฝ่ายบัญชีการเงินรวบรวมข้อวิเคราะห์ Cash flow, ฝ่ายารตลาดวางแผนเพื่อสนับการตลาด จากนั้นสมาชิกนำข้อมูลมาประชุมร่วมกัน

3.        วิเคราะห์ข้อมูล สมาชิกในทีมนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ข้อมูลร่วมกัน เพื่อ ตอบสนองให้ได้ตามเป้าที่กำหนดไว้

4.        กำหนดแผน เพื่อกระจายสู่ฝ่ายต่างๆ ได้ทำงานตามหน้าที่ความรับผิดชอบของตน นี่ถือว่าเป็นการสร้างพันธสัญญาร่วมกันแล้ว

DO & CHECK

5.       – 6. ดำเนินการตามแผนที่วางไว้ และตรวจสอบ/ ผลักดัน ให้ เป็นไปตามแผน ในกระบวนการนี้ทุกฝ่ายจะต้องนำวรจรคุณภาพ PDCA มาใช้ ซึ่งเรียกว่า PDCA inside PDCA ซึ่งอาจเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า สำนีก PDCA ซึ่งบุคลากรต้องมีสำนึกนี้อยู่ตลอดเวลา

ACT

7.        สรุปรายงานแก้ไข/ พัฒนา เพื่อให้การพัฒนาอย่างต่อเนื่องการสรุปรายงานเป็นสิ่งจำเป็น โดยรายงานนั้นอาจสรุปเป็นรายงานประจำวัน, รายงานประจำสัปดาห์, หรือ รายงานประจำเดือน แต่อย่างไรก็ดีทีมควรที่จะตรวจสอบเทียบผลที่ทำได้กับเป้าที่ตั้งไว้ในแผนเสมอ เพื่อให้เท่าทันกับสถานการณ์ปัจจุบัน และปรับเปลี่ยนแผนได้ทันท่วงที ทีมนั้นควรที่จะมีการนำแผนเข้ามาประชุมร่วมกันทุกสัปดาห์

8.        วัดผล เป็นสิ่งจำเป็น เพื่อเปรียบเทียบกับสิ่งที่เราทำตั้งแต่ขั้นตอนที่ 1 – 7 (ประสิทธิภาพ) เมื่อเปรียบเทียบกับประสิทธิผล แล้วเป็นอย่างไร  นี่ถือว่าเป็นการวัด KPI ตามเป้าที่วางไว้ในแผน ซึ่งสมาชิกในทีมจะต้องรับผิด และรับชอบร่วมกัน ความเป็นทีมจึงเกิดขี้น


อย่างไรก็ดีการปฏิบัติไม่สามารถเกิดขึ้นได้เลย หากผู้นำยังขาดความเข้าใจในหลักการที่ดีพอ จำเป็นอย่างยิ่งที่ผู้นำจะต้องให้ความสำคัญต้องการเรียนรู้ ทำตนให้เป็นแบบอย่างต่อบุคคลากร ขณะเดียวกันต้องเปิดใจรับฟังผู้ใต้บังคับบัญชาด้วย เพราะความเป็นทีมมิได้เกิดจากบุคคลหนึ่งบุคคลใด แต่ความเป็นทีมจะเกิดขึ้นได้จากความร่วมมือร่วมใจของสมาชิกที่มีพันธนาสัญญาต่อกันที่พร้อมจะทำงาน และพร้อมจะเปลี่ยนแปลง


บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที