วิกูล

ผู้เขียน : วิกูล

อัพเดท: 26 ส.ค. 2008 19.19 น. บทความนี้มีผู้ชม: 5761 ครั้ง

หลักการคิวซีซี สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้ในชีวิตประจำวัน แม้แต่การเมือง


-



18845_anusavareepracha.jpg

เทคนิคเลือก ผู้ว่าฯ กทม. คนใหม่ให้ได้คุณภาพ

 

วิกูล  โพธิ์นาง

๒๕ สิงหาคม ๒๕๕๑

pd_wikulp@hotmail.com

www.oknation.net/blog/wikulponang

 

บทนำ

เข้าสู่ช่วงเลือกตั้งผู้ว่า กทม.

ต่างพรรค ต่างกลุ่ม ต่างคน ส่งคนของตนเอง หรือตนเอง ลงรับการเลือกตั้ง กันหลากหลาย ทำจริงบ้าง เล่นบ้าง

เสนอนโยบาย ทั้งเป็นไปได้ ดูจะเป็นไปได้ และเป็นไปไม่ได้ ดังที่เคยได้พิสูจน์มาแล้วในอดีต อย่าให้ความผิดหวังซ้ำรอย จะสูญเสียเวลา

อย่าให้ผู้สมัคร ใช้เทคนิคการเมืองการตลาดมาจูงใจ ประหนึ่งนโยบายลูกกวาดหลอกเด็ก

การรณรงค์ให้เลือกคนดีก็เป็นช่องทางหนึ่งที่จะทำให้ทุกคนตระหนักรู้ว่าจะเลือกใคร

แต่บางครั้งก็สับสนว่าใครดีกว่า หรือเหมาะสมกว่า

 

ประเด็น

จึงควรมีเครื่องมือ เพื่อช่วยในการตัดสินใจ ว่าจะเลือกผู้รับสมัครคนใดเป็นเป็นผู้ว่า กทม.คนใหม่

ในที่นี้ได้นำเครื่องมือคุณภาพ  (QC. TOOL)  ของกิจกรรมคิวซีซี มาประยุกต์ใช้

จึงขอเรียกเทคนิคนี้ว่า “เทคนิคเลือก ผู้ว่าฯ กทม. คนใหม่ให้ได้คุณภาพ”

 

เนื้อเรื่อง

ก่อนใช้เทคนิค ต้องมีข้อมูลเป็นพื้นฐาน พอสังเขป

ข้อมูลแวดล้อม

-          รู้จักตัวผู้สมัคร โดยตั้งคำถามประกอบ (ใคร ทำอะไร ที่ไหน เมื่อไร อย่างไร เพราะอะไร )

-          รู้จักพรรคของผู้สมัคร  (เป็นคนของพรรคใด กลุ่มใด ใครสนับสนุน หรือใครมีอิทธิพลต่อเขา)

-          ศึกษานโยบาย ( จากแผ่นพับ การปราศรัย จากการวิเคราะห์ของสื่อมวลชน)

 

วิเคราะห์นโยบาย

-          ความเป็นไปได้ ที่จะนำนโยบายสู่การปฏิบัติ (ตัวผู้สมัคร และกลุ่มทำงานมีความรู้ ประสบการณ์ พอหรือไม่ ผู้สนับสนุนมีทัศนคติต่อเรื่องนั้นๆอย่างจริงจังหรือเปล่า)

-          ความถี่ ของปัญหาที่เกิดขึ้น ตามที่ผู้สมัครได้ตั้งนโยบายมาเพื่อแก้ไข (โดยคิดเป็นระยะเวลาที่เท่าๆกัน ให้ถือปัญหาที่เกิดขึ้นประจำวันเป็นหลักว่าในแต่ละวันเกิดบ่อยหรือไม่ ถ้านานๆ ปีสองปีเกิดครั้งก็ให้เป็นความสำคัญรองๆลงไป)

-          ความรุนแรง ของปัญหา ให้พิจารณาว่าถ้าไม่ดำเนินการในนโยบายนั้นจะทำให้เราเดือดร้อนมากหรือไม่ ถ้าไม่ ให้เป็นความสำคัญรองๆของเรื่องที่สร้างความเดือดร้อนให้กับเราและชุมชนรวมถึงกรุงเทพมหานครฯ

-          ภาวะผู้นำ ผู้สมัครคนนั้น มีพื้นฐานการดำเนินชีวิต ครอบครัวเป็นที่เชิดหน้าชูตาในทางที่ดีของสังคมเพียงไร สามารถประสานงานกับส่วนงานต่างๆได้หรือไม่ เป็นต้น

-          ทุจริตการเลือกตั้ง หรือไม่ ถ้ามีการทุจริตแม้แต่เล็กน้อย ถือว่าเป็นเรื่องที่รับไม่ได้ ทุกข้อที่ว่ามาแม้ดีเพียงใด หากทุจริตก็ให้เป็นโมฆะ  (แต่ถ้าทุกคนมีการซื้อเสียงหมดก็ใช้ การวิเคราะห์ปกติ) ในที่นี้ จะใช้แบบปกติโดยถือว่าทุกคนทุจริตแตกต่างกันไป

 

ตัดสินใจเลือก

โดยการนำ ตารางในการเลือกปัญหาของการดำเนินกิจกรรม คิวซีซี (QC. TOOL)  มาประยุกต์ใช้ ดังนี้ ตามตารางที่ ๑

 

ตารางที่ ๑ (ตัดสินใจเลือกผู้สมัคร)

ผู้สมัคร

ความเป็นไปได้

ความถี่

ความรุนแรง

ภาวะผู้นำ

ทุจริตเลือกตั้ง

รวม

ลำดับ

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

๑๒๘

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

๓๖

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

๑๙๒

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

อธิบายตาราง

๑. ให้ทำแนวตั้งก่อน โดยเริ่มจาก “ความเป็นไปได้” พิจารณาว่า “ผู้สมัคร” แต่ละคน คนใดควรได้เท่าใดระหว่าง ๑ ––– ๔ (น้อย, พอใช้, ดี, ดีมาก) อย่าให้คะแนนเท่ากัน หากคิดอย่างไรก็เท่ากันก็อนุโลมได้ ตามตารางที่ ๑.๑

 

ตารางที่ ๑.๑ (ตัดสินใจเลือกผู้สมัคร)

ผู้สมัคร

ความเป็นไปได้

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

๒. ทำตามข้อ (๑.) ไปให้ครบทุกสิ่งที่นำมาพิจารณา (สามารถมีมากกว่าหรือน้อยกว่านี้ก็ได้อยู่ที่จะสนใจเรื่องอะไร)

๓. รวมคะแนนตามแนวนอน โดยวิธีการคูณ เพื่อให้คะแนนออกมาแตกต่างกันเห็นได้ชัดกว่าการบวก ตามตารางที่ ๑.๒

 

ตารางที่ ๑.๒ (ตัดสินใจเลือกผู้สมัคร)

ผู้สมัคร

ความเป็นไปได้

ความถี่

ความรุนแรง

ภาวะผู้นำ

ทุจริตเลือกตั้ง

รวม

ลำดับ

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

๑๒๘

(จากตารางที่ ๑.๒ หาค่าได้โดย   xx xx= ๑๒๘)

 

๔. ทำให้ครบทุกข้อ ทุกคน จากนั้นก็รวมคะแนน โดยให้ผู้ที่ได้ผลรวมสูงสุดเป็นลำดับแรก ( ๑ ) เรียงลำดับไป

๕. หากคะแนนเท่ากัน ก็ให้หาข้อมูลเพื่อตัดสินใจว่าจะให้ใครคะแนนมากกว่า อาจมองว่าใครมีข้อดีอะไรอีก

๖. เมื่อได้ผลแล้วก็นำผลนี้ไปเป็นพื้นฐานการตัดสินใจเลือก จากตารางที่ ๑ ผู้สมัครที่ควรเลือกคือ (ค.) เพราะได้คะแนนสูงสุด

 

สรุป

ด้วยวิธีการดังกล่าว จะทำให้มีหลักคิด เพื่อประกอบการพิจารณาเชิงสถิติ ให้สอดคล้องกับวิทยาศาสตร์ อันจะทำให้การเข้าร่วมทางการเมือง ดำเนินไปด้วย “พุทธิปัญญาการเมือง” เพิ่มยิ่งขึ้น แนวทางนี้สามารถประยุกต์ใช้ได้กับการเลือกตั้งทุกระดับ หรือใช้พิจารณาเกี่ยวกับบางเรื่องในชีวิตประจำวันได้

 

หนึ่งคะแนนของคุณ อาจทำให้คนดีที่เหมาะสมได้ดำรงตำแหน่ง หรือพลาดโอกาสได้

 

////////////////////////////


บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที