จุฑาวัฏฐ์

ผู้เขียน : จุฑาวัฏฐ์

อัพเดท: 10 ม.ค. 2009 14.45 น. บทความนี้มีผู้ชม: 96964 ครั้ง

บทความนี้เป็นบทความเบื้องต้นไม่เน้นวิชาการมากนักจึงใช้คำศัพท์ง่าย ๆ เข้าใจง่ายเหมาะสำหรับผู้เริ่มต้น


เทอร์โมพลาสติก และเทอร์โมเซ็ตติ้งพลาสติก

เทอร์โมพลาสติก และเทอร์โมเซ็ตติ้งพลาสติก

         การแบ่งชนิดของพลาสติกนั้นสามารถแบ่งได้หลายแบบ  หากจะแบ่งตามคุณสมบัติหลังการแข็งตัว(เซ็ตตัว) แล้วก็สามารถ แบ่งได้สองแบบด้วยกันคือ เทอร์โมพลาสติก และเทอร์โมเซ็ตติ้งพลาสติก

 

         เทอร์โมพลาสติก(Thermoplastic) เมื่อได้รับความร้อนจะถูกหลอมกลายเป็นพลาสติกเหลว และ เมื่อแข็งจะเปราะแตกได้ง่าย มีลักษณะคล้ายกระจก พลาสติกส่วนใหญ่จะจัดอยู่ในประเภทนี้  เช่น

·        Acrylonitrile butadiene styrene (ABS)

·        Liquid Crystal Polymer (LCP)

·        Polyacrylates (Acrylic)

·        Polyamide (PA or Nylon)

·        Polybutylene (PB)

·        Polybutylene terephthalate (PBT)

·        Polyethylene terephthalate (PET)

·        Polycarbonate (PC)

·        Polyester

·        Polyethylene (PE)

·        Polypropylene (PP)

·        Polystyrene (PS)

·        Polyurethane (PU)

·        Polyvinyl acetate (PVA)

·        Polyvinyl chloride (PVC)

·        Polyvinylidene chloride (PVDC)

·        Styrene-acrylonitrile (SAN)

         เทอร์โมเซตติ้งพลาสติก(Thermosetting plastics) หรือเรียกย่อ ๆ ว่าเทอร์โมเซ็ต(Thermosets) เป็นพลาสติกที่ไม่สามารถคืนสภาพได้หลังจากการขึ้นรูป ด้วยความร้อนตอลดจนปฏิกริยาเคมี (โดยทั่วไปสูงกว่า 200 องศาเซลเซียส ) นั่นคือสามารถขึ้นรูปได้เพียงครั้งเดียวนั่นเอง การขึ้นรูปเทอร์โมเซ็ทติ้งพลาสติก มักใช้การขึ้นรูปโดยแม่พิมพ์ หรือสารยึดเกาะหรือตัวประสาน (Adhesive)  เช่น

·        Vulcanized rubber

·        Bakelite, a phenol-formaldehyde resin (ใช้เป็นฉนวนไฟฟ้าในอุปกรณ์ไฟฟ้า)

·        Urea-formaldehyde foam (ใช้ในการผลิต ไม้อัด ปาติเกิ้ลบอร์ด และ เอ็มดีเอฟบอร์ด)

·        Melamine resin (ใช้ในการทำผิวหน้าโต๊ะ)

·        Epoxy resin (ใช้เป็นตัวประสาน และในการทำพลาสติกเสริมแรง)

·        Polyimides (ในในการทำแผงจงจรไฟฟ้า และ ตัวเครื่องบินสมัยใหม่)


        
บาง
งท่านยังเรียกพลาสติดชนิดนี้เล่น ๆ ว่า  “เทอร์โมเซ็ตทิ้ง” เพื่อง่ายต่อการจำ

“ เทอร์โม”   ก็คือความร้อน

“เซ็ต”  คือ การการการแข็งตัว

“ทิ้ง”  ก็คือการสามารถขึ้นรูปได้เพียงครั้งเดียว  

นั่นคือ เทอร์โมเซ็ตติ้งพลาสติก ขึ้นรูปได้เพรียงครั้งเดียวในขณะที่ เทอร์โมพลาสติก สามารถขึ้นรูปได้ใหม่เมื่อโดนความร้อน  ซึ่งอาจเป็นการง่ายขึ้นที่จะจำและแบ่งแยกคุณสมบัติของพลาสติกทั้ง 2 ชนิด


บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที