ESTATE1

ผู้เขียน : ESTATE1

อัพเดท: 27 ต.ค. 2008 16.27 น. บทความนี้มีผู้ชม: 60961 ครั้ง

มารับฟังการถ่ายทอดประสบการณ์ดี ๆ จากการไปฝึกงาน ณ ประเทศญี่ปุ่น เป็นเวลา 1 ปี จาก นักศึกษาโครงการ ESTATE รุ่นที่ 1


ช่วงหนึ่งของชีวิตกับ ESTATE 1........อัธยา ประสิทธิพรม

1 ปีกับประสบการณ์ล้ำค่าด้าน Embedded Systems ในประเทศญี่ปุ่น (ต่อจากฉบับที่แล้ว)

 

                สำหรับฉบับที่ 4  นี้  อาจจะแตกต่างไปจาก 3 ฉบับที่ผ่านมา  เพราะเนื้อหาสำหรับฉบับนี้จะเป็น 2 ท่านที่ได้รับการคัดเลือกให้ไปฝึกงานอยู่ในบริษัทเดียวกัน คือ CATS : Communication Art Technology Systems  ดังนั้น อาจจะมีส่วนที่เหมือนและแตกต่างกันไปในแง่ของมุมมองความคิดเห็น และการได้รับถ่ายทอดเทคโนโลยี แม้จะไปฝึกงานในบริษัทเดียวกันก็ตาม  สำหรับท่านแรก ถ้าคุณเป็นนักล่ารางวัล หรือฝึกปรือวิทยายุทธด้วยการส่งผลงานเข้าร่วมการแข่งขันสิ่งประดิษฐ์ด้าน Robot และ Embedded Systems ฯลฯ คงจะไม่มีใครที่ไม่รู้จักสมาชิก ESTATE รุ่นที่ 1 ท่านนี้แน่ ๆ เขาเป็นอีกหนึ่งท่านที่เราภูมิใจและได้นำประสบการณ์ดี ๆ ในการไปฝึกงาน ณ ประเทศญี่ปุ่นเป็นเวลา 1 ปี  มาถ่ายทอดผ่านคอลัมน์ ESTATE Show  ขอเชิญชวนทุกท่านมาร่วมรับฟังอีกแง่มุมหนึ่งของการใช้ชีวิต การฝึกงาน ณ ประเทศญี่ปุ่นไปพร้อม ๆ กัน

 

ช่วงหนึ่งของชีวิตกับ ESTATE 1

ขอกล่าวทักทายคุณผู้อ่านทุกท่าน ก่อนอื่นขออนุญาตแนะนำตัวเองก่อนนะครับ ผมชื่อ นายอัธยา ประสิทธิพรม  ปัจจุบันอายุ 26ปี จบการศึกษาจากสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง  สำหรับโครงการ ESTATE นั้นผมได้รับโอกาสให้ไปฝึกงานกับทางบริษัท CATS : Communication Art Technology Systems ซึ่งเป็นบริษัทที่ผลิตซอฟต์แวร์สำหรับใช้ในการออกแบบซอฟต์แวร์ (CASE tool : Computer-Aided Software Engineering Tool) ภาระหน้าที่ของผมก็คือ การศึกษาโปรแกรมที่ชื่อว่า ZIPC อันเป็นเครื่องมือสำคัญในการออกแบบซอฟต์แวร์และทำการวิเคราะห์ข้อดีข้อเสียของโปรแกรมนี้ รวมถึงสร้างต้นแบบที่ใช้ในการอบรมผู้ใช้งาน  

แน่นอนว่าในการใช้ชีวิตและทำงานกับคนญี่ปุ่นนั้นเป็นเรื่องที่แปลกใหม่มาก  สำหรับคนไทยอย่างผม บางสิ่งบางอย่างก็ดูจะแปลกประหลาดไปสักหน่อย ซึ่งก็คงไม่ขอพูดถึงในที่นี้ ที่พักอาศัยของผมในตอนนั้นอยู่ที่ศูนย์ฝึกอบรม YKC (Yokohama Kenshu Center) ซึ่งใช้เวลาเดินทางโดยรถไฟชินคันเซ็นไปยังสถานี Shin-Yokohama (บริษัทที่ฝึกงาน) ใช้เวลาประมาณชั่วโมงกว่า ๆ  สำหรับเวลาเข้างานของแผนกฝึกอบรม คือ ประมาณสิบโมงเช้า พวกผมก็จะไปถึงประมาณเก้าโมง หลังจากกล่าวทักทายผู้ฝึกสอนก็จะเริ่มฝึกงานตามที่ได้รับมอบหมายเป็นวาระ ๆ ไป  เวลาพักเที่ยงก็เป็นเวลาเที่ยงตรง ส่วนมากผมจะซื้อข้าวกล่องมารับประทานที่สวนสาธารณะ แต่คนญี่ปุ่นส่วนใหญ่จะรับประทานอาหารตรงที่ทำงานส่วนตัวของตัวเอง ไม่ค่อยจะรับประทานอาหารร่วมกันซักเท่าไร แต่บางครั้งผมก็จะมานั่งรับประทานอาหารกลางวันกับพวกคุณป้าที่โต๊ะสำหรับพักบ้างเพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมและฝึกภาษา ส่วนเวลาเลิกงานนั้นก็ประมาณหกโมงถึงหนึ่งทุ่ม จากนั้นก็จะเดินทางกลับมายังที่พัก รับประทานอาหารค่ำแล้วจึงอ่านหนังสือพักผ่อนนอนหลับเป็นกิจวัตรประจำวัน

สำหรับการทำงานกับคนญี่ปุ่นนั้นค่อนข้างจะเข้มงวดเรื่องของเวลามาก โดยผมเองก็โดนย้ำตั้งแต่เริ่มการฝึกงานว่าเป็นพนักงานใหม่ก็ควรจะมาก่อนเวลาประมาณครึ่งชั่วโมงเป็นอย่างน้อย ส่วนเวลากลับบ้านก็แล้วแต่วิจารณญาณ

หัวข้อของการฝึกงานก็จะเริ่มจาก การฝึกพื้นฐานการเขียนโปรแกรมบนระบบฝังตัวสมองกล  เช่น การเขียนภาษาซีที่มีประสิทธิภาพ การเขียนภาษาแอสเซมบลีร่วมกับภาษาซี การทำงานของฮาร์ดแวร์ จากนั้นก็เป็นเรื่องของการใช้โปรแกรม ZIPC ในการออกแบบโปรแกรม การทำงานของซีมูเลเตอร์ การทำงานของอีมูเลเตอร์กับฮาร์ดแวร์เป้าหมาย และการนำโปรแกรมที่ได้จากการออกแบบลงไปทำงานในเป้าหมายจริงๆ โดยการเรียนรู้ทั้งหมดก็ได้นำไปสร้างเป็นรถยนต์จำลองที่สามารถควบคุมได้ด้วยรีโมทคอนโทรล และมีการนำเสนอผลงานต่อหน้าท่านผู้คุณวุฒิเพื่อเป็นการยืนยันว่าได้รับการถ่ายทอดที่ถูกต้องครบถ้วน

สำหรับการออกแบบซอฟต์แวร์โดยใช้ ZIPC จะใช้การออกแบบโดยอิงกับ STM (State Transition Matrix) โดยหลักการออกแบบนั้น จะเริ่มจากการพิจารณาระบบแล้วทำการเรียบเรียงเหตุการณ์ (Event) ,การกระทำ (Action) ของระบบแล้วกำหนดสถานะ (State) และเงื่อนไขของการเปลี่ยนสถานะ (Transition) แล้วจึงนำข้อมูลเหล่านี้มาใส่ไว้ในตาราง STM เพื่อให้เห็นภาพรวมในการออกแบบมากขึ้น จากนั้นก็ทำการพิจารณาช่องการกระทำ (Action Cell) ต่าง ๆ โดยคำนึงถึงความสามารถในการลดจำนวนช่องการกระทำที่สามารถทำการลดลงได้เพื่อเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพของระบบโดยรวม

 

 

State 1

State 2

State 2.1

State 2.2

Event 1

/

Transition

Transition

Action

Action

Event 2

Transition

Transition

X

Action

Action

ตารางที่ 1  ตาราง STM

เพื่อให้เห็นภาพรวมของการออกแบบมากขึ้น จึงจะขอยกตัวอย่างด้วยการออกแบบผลิตภัณฑ์พัดลมด้วย STM โดยพัดลมของเราจะมีคุณสมบัติ (Specification) ดังนี้

-          พัดลมมีความเร็วสี่ระดับ คือ หนึ่ง สอง สาม สี่  (มองได้ว่ามีห้าสถานะ คือ รวมสถานะปิดด้วย)

-          พัดลมมีปุ่มสำหรับกดห้าปุ่ม คือ ปุ่มปิด ปุ่มความเร็วระดับหนึ่ง ปุ่มความเร็วระดับสอง ปุ่มความเร็วระดับสาม ปุ่มความเร็วระดับสี่ (มองได้ว่ามีการกระทำห้าอย่าง คือ การกดปุ่มทั้งห้าปุ่ม)

-          เมื่อกดปุ่มความเร็วใด ๆ พัดลมจะต้องหมุนด้วยความเร็วนั้น ๆ (มองว่าเป็นการเปลี่ยนสถานะ)

-          เมื่อกดปุ่มปิดแล้วไม่ว่าพัดลมจะเปิดอยู่ที่ความเร็วเท่าใดก็ต้องมาอยู่ในสถานะปิด (มองว่าเป็นการเปลี่ยนสถานะ)

จากคุณสมบัติเบื้องต้นที่ว่ามาเราสามารถเขียนแจกแจงเป็นตาราง STM ได้ดังนี้

 

ปิด

เปิด

ความเร็ว 1

ความเร็ว 2

ความเร็ว 3

ความเร็ว 4

กดปุ่มปิด

/

ปิด

ปิด

ปิด

ปิด

ทำการปิด

ทำการปิด

ทำการปิด

ทำการปิด

กดปุ่มความเร็ว 1

ความเร็ว1

/

ความเร็ว1

ความเร็ว1

ความเร็ว1

ปรับความเร็ว1

ปรับความเร็ว1

ปรับความเร็ว1

ปรับความเร็ว1

กดปุ่มความเร็ว 2

ความเร็ว2

ความเร็ว2

/

ความเร็ว2

ความเร็ว2

ปรับความเร็ว2

ปรับความเร็ว2

ปรับความเร็ว2

ปรับความเร็ว2

กดปุ่มความเร็ว 3

ความเร็ว3

ความเร็ว3

ความเร็ว3

/

ความเร็ว3

ปรับความเร็ว3

ปรับความเร็ว3

ปรับความเร็ว3

ปรับความเร็ว3

กดปุ่มความเร็ว 4

ความเร็ว4

ความเร็ว4

ความเร็ว4

ความเร็ว4

/

ปรับความเร็ว4

ปรับความเร็ว4

ปรับความเร็ว4

ปรับความเร็ว4


ตารางที่ 2
  ตาราง STM ของพัดลม

เมื่อได้ตาราง STM ออกมาแล้ว เราจะสามารถพิจารณาถึงสิ่งที่ไม่ได้คำถึงถึงก่อนหน้านี้ เช่น ที่สถานะปิด หากมีการกดปุ่มปิดเราควรจะตอบสนองอย่างไร ซึ่งในคุณสมบัติเบื้องต้นไม่ได้ระบุไว้  เราจึงทำการตอบสนองด้วยการไม่ตอบสนองอะไรโดยการใช้เครื่องหมาย ( / )

                โดยการใช้ตาราง STM ทำให้เราสามารถแจกแจงและวิเคราะห์จุดที่หลงลืมและสิ่งที่ไม่ได้คำถึงถึงในการออกแบบซึ่งถือเป็นข้อดีประการสำคัญของการใช้ตาราง STM

               หลังจากหนึ่งปีผ่านไปไวเหมือนความฝัน ในที่สุดพวกเราก็ต้องตื่นแม้ว่ายังอยากจะหลับตาอยู่แบบนั้น  ประสบการณ์หนึ่งปีเต็ม ที่ได้มาฝึกงานที่ญี่ปุ่น สำหรับผมแล้วเป็นประสบการณ์ล้ำค่าอาจจะหาที่ใดไม่ได้อีกแล้ว ทั้งประสบการณ์การทำงานร่วมกับคนญี่ปุ่น การใช้ชีวิตร่วมกับเพื่อน ๆ ที่มาจากต่างชาติต่างถิ่นกัน รอยยิ้ม เสียงหัวเราะ และรอยน้ำตา สุดท้ายนี้ผมก็ขอกล่าวขอบคุณพี่ ๆ น้อง ๆ ทุกท่านที่ร่วมด้วยช่วยกันจนโครงการ ESTATE รุ่นที่ 1  เดินทางมาจนจบครบรอบได้ด้วยดี  ขอกราบขอบคุณท่านประธาน Ueshima คุณ Daisuke และคุณ Takeda ที่ให้การสั่งสอนและดูแลเป็นอย่างดี ดั่งคำว่างานเลี้ยงย่อมมีวันเลิกลา ส่งกันพันลี้ยังไงคงต้องจากกันอยู่ดี ก็คงขออำลาทุกท่านไปก่อน หวังใจว่าอาจจะได้มีโอกาสพบกับท่านผู้อ่านอีกในอนาคตอันใกล้ สวัสดีครับ

 

เว็ปไซต์อ้างอิง

1. เกี่ยวกับบริษัท CATS และ ZIPC case tool คือ http://www.zipc.com/

2. บันทึกชีวิตประจำวันตั้งแต่วันแรกจนถึงวันสุดท้ายที่อยู่ที่ญี่ปุ่นในโครงการ ESTATE ของผู้เขียน คือ  http://www.lemongrass-studio.com/nihondiary.html


บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที