วิกฤตเศรษฐกิจของโลกส่งผลให้ยอดขายและยอดส่งออกลดลง เกิดผลกระทบต่อกิจการในด้านต่างๆ นำไปสู่ปัญหาการเลิกกิจการหรือการเลิก
จ้างงานและมีแนวโน้มที่สถานประกอบการจะเลิกจ้างงานอีกเป็นจำนวนมาก ซึ่งเป็นการแก้ปัญหาระยะสั้นเท่านั้นแต่จะก่อให้เกิดปัญหาในระยะยาวส่งผลให้
ขีดความสามารถในการแข่งขันลดลง เนื่องจากการขาดบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถและประสบการณ์ อีกทั้งในการที่จะพัฒนาบุคลากรเหล่านี้ขึ้นมา
ใหม่จะต้องใช้เวลาและมีค่าใช้จ่ายสูง นอกจากนี้การเลิกจ้างงานยังส่งผลกระทบต่อประเทศเป็นอย่างยิ่งทั้งในแง่ของเศรษฐกิจและสังคม
ในทางกลับกัน ในช่วงนี้เป็นโอกาสที่สถานประกอบการจะหันกลับมาพิจารณาปัญหาภายในของตนเอง การปรับปรุงระบบงานภายในเพื่อให้อยู่
รอดอย่างพอเพียง และเตรียมความพร้อมเพิ่มขีดความสามารถเพื่อการแข่งขันในอนาคต ซึ่งจะมีผลต่อการรักษาและเพิ่มขีดความสามารถของวิสาหกิจได้
ในระยะยาว อาทิ การลดค่าใช้จ่ายด้านพลังงาน การลดความสูญเสีย การเพิ่มประสิทธิภาพของกระบวนการผลิต การเพิ่มประสิทธิภาพของแรงงาน การ
บำรุงรักษาเครื่องจักรทวีผล การเพิ่มความสามารถด้านโลจิสติกส์ การวางแผนกลยุทธ์องค์กร และกลยุทธ์การตลาด เป็นต้น
แต่เมื่อปัญหารุมเร้า งบประมาณ และบุคลากรมีจำกัด ผู้บริหารย่อมเกิดความสับสนลังเล ตัดสินใจไม่ถูกว่าจะเลือกแก้เรื่องใดก่อน ที่จะเกิด
ประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุด หรืออาจจะไม่รู้ว่าอะไรคือปัญหาที่แท้จริง หรือรู้ปัญหาแต่ไม่รู้จะแก้ไขอย่างไร ดังนั้นการวินิจฉัยสถานประกอบการ จึง
เป็นเทคนิคสำคัญที่จะวิเคราะห์ ลำดับความสำคัญเร่งด่วนของปัญหา พร้อมกับนำเสนอแนวทางการปรับปรุงแก้ไขอย่างได้ผล เทคนิคการวินิจฉัยประสบ
ความสำเร็จอย่างสูงในประเทศญี่ปุ่น ในการช่วยเหลือธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ให้สามารถเจริญเติบโตได้อย่างยั่งยืน